แมวไทย
แมวไทย ( Siamese cat ) คือแมวที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย คุณสมบัติที่ทำให้แมวไทยเหนือกว่าแมวชนิดอื่น คือ อุปนิสัยแมวไทยมีความฉลาด มีความเป็นตัวของตัวเอง รู้จักคิด รู้จักประจบ รักบ้าน รักเจ้าของ และเหนือสิ่งอื่นใดคือ รักอิสระของตัวเองเป็นชีวิตจิตใจ อิสระที่จะกิน จะดื่ม หรือจะไปไหนมาไหนตามใจชอบ ซึ่งถือว่าเป็นบุคลิกประจำตัวที่ทำให้แตกต่างจากแมวพันธ์อื่น สีสันตามตัวของแมวไทย เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้นักรักแมวรู้สึกสุขใจยามได้มอง ไม่ว่าจะเป็น วิเชียรมาศ เก้าแต้ม ขาวมณี นิลรัตน์ ศุภลักษณ์ สีสวาท ซึ่งต่างล้วนได้รับความสนใจจาดเจ้าของและผู้สนใจทั้งสิ้น
วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554
แมวการเวก
แมวการเวก เป็นแมวดำอีกชนิดหนึ่ง แต่ไม่ดำหมดทั้งตัว จะมีแต่ปลายจมูกที่มีแต้มสีขาวเล็กน้อย นัยน์ตาทั้งสองข้างสีเหลืองอำพันสดใส ถ้าได้เลี้ยงจะนำโชคลาภมาให้เจ้าของเปลี่ยนฐานะขึ้นไปเรื่อยๆ
แมวแซมเสวตร
แมวปัดเสวตร
แมวจตุบท
แมวมุลิลา
แมวกระจอก
สิงหเสพย์
แมวศุภลักษณ์
แมวศุภลักษณ์ เรียกอีกชื่อว่า แมวทองแดง มีสีทองแดงหรือน้ำตาลแดงเข้มทั่วตัว อาจมีสีเข้มเป็นพิเศษตำแหน่งเดียวกับแมววิเชียรมาศ แมวทองแดงมีรูปร่างขนาดกลาง สง่า น้ำหนักตัวพอประมาณ ขายาวเรียวฝ่าเท้าอวบ ศีรษะค่อนข้างกลมกว้าง ด้วยสีขนออก น้ำตาลเข้ม เหมือนกับสีของทองแดง มีตาสีออกเหลือง หรือ สีอำพัน หนวดมีสีเหมือนลวดทองแดง และบริเวณตามส่วนของร่างกาย เช่นหน้า หู ปลายขา และ หางจะมีสีน้ำตาลเข้มกว่าบริเวณลำตัวทั่วๆไป แมวพันธุ์ศุภลักษณ์จะมีสีสันสะดุดตาอย่างมาก และ มีความสวยงาม สมกับคำว่า "ศุภลักษณ์" ที่แปลว่าลักษณะที่ดี
แมวศุภลักษณ์ เป็นแมวที่มีความกระตือรือร้นอยู่เสมอ อยากรู้อยากเห็น ชอบผจญภัย รักอิสระเสรีเหนืออื่นใด ชอบสนใจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว กับคนแปลกหน้าแล้วมันดูจะเป็นแมวที่ร้ายพอสมควร
แมวมาเลศ
แมวโคราช หรือ แมวมาเลศ ต้นกำเนิดพบที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา หรือที่รู้จักกันในนามว่าโคราช มีหลักฐานบันทึกเกี่ยวกับแมวโคราชในสมุดข่อยที่เขียนขึ้นในระหว่างปี ค.ศ. 1350-1767 หรือประมาณ พ.ศ. 1893-2310 ในบันทึกได้กล่าวถึงแมวที่ให้โชคลาภที่ดี 17 ตัวของประเทศไทย รวมถึงแมวโคราชด้วย ปัจจุบันสมุดข่อยนี้ถูกเก็บไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร
แมวเพศผู้มีสีเหมือนดอกเลา จึงเรียก แมวสีดอกเลา โดยจะต้องมีขนเรียบ ที่โคนขนจะมีสีขุ่น ๆ เทา ในขณะที่ส่วนปลายมีสีเงิน เป็นประกายคล้ายหยดน้ำค้างบนใบบัว หรือเหมือนคนผมหงอก
ชื่อแมวโคราช เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย[1] โดยใช้แหล่งกำเนิดของแมวเป็นชื่อเรียกพันธุ์แมว มีเรื่องเล่ามากมายหรือเป็นตำนานเล่าขานเกี่ยวกับแมวโคราช รวมถึงตำนานพื้นบ้านที่กล่าวถึงการที่แมวโคราชมีหางหงิกงอมากเท่าไหร่จะมีโชคลาภมากเท่านั้น (แม้ว่าลักษณะหางหงิกงอไม่ใช่มาตรฐานพันธุ์ตามหลักของ CFA ก็ตาม) แต่คนไทยบางกลุ่มจะเรียกแมวโคราชว่า แมวสีสวาด
แมวรัตนกำพล
แมวกรอบแว่น
แมวเก้าแต้ม
แมวเก้าแต้ม เป็นแมวสีขาว มีสีดำแต้มสีดำรวมเก้าแห่ง คือ บริเวณหัว คอ โคนขาหน้าและโคนขาหลังหลังทั้ง 4 ข้าง ไหล่ทั้ง 2 ข้าง และโคนหาง ลักษณะแต้มสีดำนี้จะเป็นวงกลมหรือปื้นเหลี่ยมก็ได้ ปลายหางเรียวยาว สีขาว ใครได้แมวเก้าแต้มไว้เลี้ยงดูก็จะทำให้การค้าขายรุ่งเรือง ร่ำรวย คนไทยโบราณมักเลี้ยงไว้ในพระราชสำนัก
แมวนิลจักร
แมวนิลรัตน์
แมวโกญจา
แมวโกญจา ที่เรียกกันอีกชื่อว่า แมวดำปลอด
แมวโกญจา ที่เรียกกันอีกชื่อว่า แมวดำปลอด บางคนเรียกว่าดำมงคล สีดำทั้งตัว มีตาเป็นสีเหลือง อำพัน เหมือนสีดอกบวบแรกแย้มหรือสีเหลืองนั่นเอง ลักษณะท่าทาง สง่าเหมือนสิงโต เป็นที่น่าเกรงขามแมวโกญจาดูตามความหมายแล้วแปลว่านกกระเรียน อีกอย่างหนึ่งแปลว่า เสียงดังกึกก้องกังวาลเวลาร้องขน แมวโกญจาจะต้องเป็นขนสั้นบางเป็นระเบียบเรียบร้อยปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดเรียกแมวโกญจาว่าแมวนิลรัตน์ เพราะว่ามีสีดำคล้ายกัน แมวนิลรัตน์นั้นลักษณะสีจะต้องมีดำทุกอย่าง แต่ปัจจุบันนี้ จะดำไม่หมดทุกอย่าง ซี่งเป็นแมว ที่หาได้ง่ายมากที่สุดกว่าทุกสายพันธุ์ที่เหลืออยู่ ราคาไม่แพงเพราะว่าคนไม่นิยมที่จะเลี้ยง เนื่องจากจะสร้างภาพพจน์ให้กับแมวดำว่าเป็นแมวผี ตามตำราคนโบราณ เชื่อว่า "แมวนี้ถ้าเลี้ยงดีจะมีคุณหนังหนาจงเร่งหามาอย่าแคลงสงสัย"
วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2554
แมววิลาศ
ขาวมณี
แมวขาวมณี หรือ ขาวปลอดเป็นสายพันธุ์ที่พบเห็นได้มากสุดในปัจจุบัน เป็นแมวไทยโบราณที่ไม่ได้มีบันทึกไว้ในสมุดข่อย จึงเชื่อว่าเป็นแมวที่เพิ่งกำเนิดในต้นยุครัตนโกสินทร์นี่เอง นิยมเลี้ยงไว้ในราชสำนักครั้งหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 แมวชนิดนี้เป็นที่โปรดปราณมาก ในต่างประเทศนิยมเลี้ยงกันเป็นคู่เพื่อให้ผลัดกันทำความสะอาดขน เป็นแมวที่ค่อนข้างเชื่อง เหมาะสำหรับการเลี้ยงเป็นเพื่อนได้เป็นอย่างดี
ลักษณะเด่นของขาวมณีคือสีขนและผิวกายขาวสะอาด ขนสั้น นุ่ม รูปร่างลำตัวยาวขาเรียว ทรงเพียวลม ไม่อ้วนหรือผอมเกินไป หัวไม่กลมโต แต่เป็นทรงสามเหลี่ยมคล้ายหัวใจ หน้าผากแบนใหญ่ หูขนาดใหญ่และตั้งตรงจมูกสั้น ดวงตาจะรีเล็กน้อยนัยน์ตาเป็นสีฟ้าหรือเหลืองอำพันสีใดสีหนึ่งเมื่อนำแมวขาวมณีตาสีฟ้า ผสมกับแมวขางมณีตาสี อำพัน ลูกที่ออกมาจะมีตาสองสี คือ สีฟ้าข้างหนึ่งและสีเหลืองอำพันข้างหนึ่ง ซึ่งเป็นลักษณะที่ถูกควบคุมโดยยีนด้อยในแมวขาวมณีแทบทุกตัวจะมีจุดด้อย เช่น ถ้ามีตาสองสีมักมีตาข้างหนึ่งที่ไม่ดี อาจมองเห็นไม่ชัดหรือมองไม่เห็นเลย ถ้าแมวตาสีฟ้ามักจะหูพิการ หรือไม่ได้ยินเสียงมากนัก และแมวตาสีเหลืองอำพันมักมีต่อมขนที่ไม่ดี
วิเชียรมาศ
แมววิเชียรมาศ เป็นแมวไทยโบราณที่มักเลี้ยงกันในวัง ตั้งแต่สมัยอยุธยา และเป็นแมวมงคลตามตำรา มักกล่าวว่าแมวมงคลคนธรรมดาสามัญชนไม่สามารถเลี้ยงได้ เมื่อสมัยเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่2 แมวไทย 17ชนิดในพระราชวังของกรุงศรีอยุธา ได้ถูกพวกพม่า และเชลย ได้นำไปพม่า เพราะพม่าคิดว่า แมวไทยคือทรัพย์สินที่มีค่าชนิดนึงเนื่องจากแมวไทยในอยุธยาสามารถซื้อขายได้ถึง 1แสนตำลึงทอง หากใครมีแมวชนิดนี้จึงนำมาขายแก่วัง ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้แมวไทยสูญพันธุ์ หลังจากนั้น แมววิเชียรมาศก็สาบสูญหายไปจากประเทศไทย ต่อมา สมเด็จพุฒาจารย์ พุทธสโร ได้ไปเที่ยวกรุงศรีอยุธยาร้าง แล้วไปเจอสมุดข่อยที่ไม่ถูกเผา จึงนำสมุดข่อยกลับมา แล้วให้คนไปไล่ต้อนจับแมววิเชียรมาศ จนได้แมววิเชียรมาศกลับมาสู่ประเทศไทยอีกครั้ง
แมววิเชียรมาศนี้ตามตำราว่าไว้ว่าต้องเป็นสีดำดังหมึกวาด แต่ปัจจุบันเมื่อดูให้ดีแล้วจะเป็นแต้มสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ไม่ได้ดำสนิท หรือที่ต่างประเทศเรียกว่า Seal brown หรือแต้มสีครั่ง แมววิเชียรมาศเป็นที่รู้จักในต่างประเทศโดยใช้ชื่อว่า แมวสยาม (Siamese Cat) แต่ต่างประเทศจะมีแต้มสีอื่นที่หลากหลายกว่า ซึ่งประเทศไทยจะยอมรับเฉพาะแมวที่มีแต้มสีน้ำตาลเข้มเท่านั้น นัยน์ตาสีฟ้าก็เป็นเสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของแมวชนิดนี้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)